วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สื่อ "พิซซ่าหรรษา"

ชื่อ พิซซ่าหรรษา


ขั้นตอนการทำสื่อ



การนำสื่อไปใช้กับเด็กปฐมวัย

 

วีดีโอการสอนของฉัน





สอนหน่วย "ไก่" (วันแรก)


 

สิ่งที่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ

- เวลาสอนให้เด็กนับจำนวนไก่ (เอาไก่ต็อก + ไก่แจ้)
- เรื่องคำควบกล้ำ (ให้พูดชัดๆ)
- การสอนควรมีการวางลำดับขั้นตอนให้ดีๆ
- การที่เด็กบอกว่าไก้ในห้องมีกีตัว คือ การวัด
- เมื่อเด็กตอบถูกให้ตรบมือให้ เป็นการเสริมแรงให้เด็ก
- "ในห้องหมดเราจะแยกไก่แต่ละชนิดและมานับกันเด็กอยาก รู้ ไหมค่ะว่าไก้มีกัชนิด (ให้ใช้คำว่าทราบแทนคำว่ารู้)



วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สรุปโทรทัศน์ครู





เรื่อง เรียนรู้ผ่านการเล่น : พัฒนาการทางคณิตศาสตร์


เป็นการเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กโดยใช้หลักสูตรการเล่นเป็นฐาน (play-based curriculum) ในโรงเรียนนำร่องแห่งหนึ่งใน welsh
-เน้นการปูพื้นฐานความพร้อมให้กับผู้เรียนโดยเฉพาะในช่วงแรกที่เรียกว่า foundation phase โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนกลุ่มเล็กๆตามความถนัดและความสนใจของตนเอง
-เปิดโอกาสให้ครูได้จัดกิจกรรมนอกห้องเรียน (out door activities) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน โดยไม่เร่งรัด หากให้นักเรียนได้มีพัฒนาการตามศักยภาพของแต่ละคน
-เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์ง่ายๆ ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้เงิน หรือกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการอิ่นๆที่นอกเหนือจากชั้นเรียนธรรมดา
-มีการใช้สื่อที่่หลากหลาย เช่น a bee robot, ตุกตาหมี, ดินสอยักษ์ เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ เช่น การประมาณค่า และการแก้ปัญหาเป็นต้น
-แสดงถึงการประสานงานและการสร้างความเข้าใจระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง ซึ่งมักกลัวว่าการเปลี่ยนแปลงสู่การจัดการเรียนการสอนแบบใหม่นี้ อาจทำให้เด็กไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมที่เพียงพอ ซึ่งในทางตรงข้ามพบว่า นักเรียนเหล่าต่างมีความสุขและใฝ่รู้ใฝ่เรียนในการเรียน มีสำเร็จและมีความพร้อมในการเรียนรู้ อย่างน่าพึงพอใจ


การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม
-อาจนำมาปรับประยุกต์โดยนำการเล่นอย่างมีความหมายมาสอดแทรกในการจัดการเรียนการสอนวิชาต่างๆสำหรับเด็กปฐมวัย

เงื่อนไขที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเส็จ
จะต้องมีการสือสารระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอและชัดเจนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
-ครูจะต้องไม่ยึดติดกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนแบบเดิมๆ

สรุปบทความ

บทความคณิตศาสตร์สำหับเด็กปฐมวัย
                                                                                        ผู้แต่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่ง ครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย ว่าเด็กจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนา ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น
    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้


     

จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มี ทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณ ที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนา เรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เข้าเรียนครั้งที่ 15

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 เลขที่ 5
รหัส 5511200874 กลุ่ม 104 

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

ครูได้สอนเราและแนะนำเกี่ยวกับเด็กเรื่อง พฤติกรรมกับพัฒนา ซึ่งเราจะรู้ได้ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง ทำสิ่งไหนไม่ได้ โดยสิ่งที่เด็กทำได้ คือการแสดงออกมา ผ่านสื่อหรือพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งสื่อจะเป้นตัวกลางและเด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

วิธีการเรียนรู้ของเด็กคือ
- การลงมือกระทำ
- การให้อิสระในการตัดสินใจแก่เด็ก

** คณิตศาสตรืเป็นเรื่องของนามธรรมที่อยู่ในชีวิตประจำวัน นั้นเราต้องใช้สื่อเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจง่ายมากขึ้น

กิจกรรมในวันนี้

นำเสนอแผ่นพับ "ให้ความรู้กับผู้ปกครอง" ของแต่ละกลุ่ม
มีทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ
1.กุ๊กไก่หลายชนิด
2.ส่วนประกอบของไก่กับคณิตศาสตร์
3.เรียนรู้ประโยชน์และโทษของไก่
4.ขนาดของไก่กับคณิตศาสตร์



ข้อเสนอแนะที่กลุ่มของดิฉันต้องนำไปแก้ไขคือ
- ปรับเปลี่ยนเนื้อหาใหม่คือ ชนิดของไก่,สาระ,เพลง,เกม,คำถามกระตุ้น,ข้อเสนอแนะ
- ปรับเปลี่ยนเกมใหม่โดยไม่ซ้ำของเพื่อนๆ 

ประเมินตนเองวันนี้ตั้งใจเรียน แต่งการถูกระเบียบ และฟังเพื่อนออกไปนำเสนองานอย่างตั้งใจ และจดในสิ่งที่อาจารย์เสนอแนะ
ประเมินเพื่อนวันนนี้ดูเหมือนเพื่อนๆ จะเหนื่อยเหมือนกัน แต่ทุกคนก็ตั้งใจเรียน และร่วมตอบคำถามของครูได้  เพื่อนส่วนใหญ่แต่งตัวเรียบร้อยค่ะ
ประเมินอาจารย์อาจารย์มีเทคนิดการสอนดีมากค่ะ โดยเทคนิคการสอนจะผ่านการสอนนักศึกษา ซึ่งทำให้ดิฉันเข้าใจง่ายขึ้น
สิ่งที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม-หาเนื้อหาใส่แผ่นผับให้สมบูรณ์-อ่านหนังสือเพื่อสอบในวันจันทร์ 15:00 น.


วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เข้าเรียนครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 เลขที่ 5
หัส 5511200874 กลุ่ม 104
สิ่งที่ได้รับในวันนี้

วันนี้อาจารย์ได้ลองให้เขียน map จากเอกสารที่อาจารย์แจกให้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่อาจารย์ให้เปลี่ยนหัวข้อใหม่เป็นอะไรก็ได้ เพราะต้องสอบพร้อมเพื่อนอีกกลุ่ม แต่อาจารย์ตฤณ ไปดูงานก็เลยรอสอบพร้อมกันค่ะ ว่าเราได้อะไรบ้างจากวิชานี้หรือสิ่งที่เราได้อ่านมา
หัวข้อของดิฉันคือ " ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" ซึ่งดิฉันสรุปประเด็นได้ดังภาพค่ะ


หลังจากที่เราได้เขียน map เส็จ อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำว่าใน map ของเรานั้นควรเขียนอะไรลงไปบ้างควรเรียงลำดับของความรู้ที่เราได้เรียนมาให้ดี

ซึ่งอาจารย์ก็ให้คำแนะนำว่หัวข้อในเอกสารที่แจกไปมี 3 หัวข้อดังนี้
  1.การจัดประสบการณ์
 2.คณิตศาสตร์
3.เด็กปฐมวัย 

กิจกรรมในวันนี้

อาจารย์ได้ให้เราแบ่งกลุ่มตามวันที่เรานำเสนอการสอน และให้ทำแผ่นพับ  
"เพื่อเป็นการให้ความรู้ผู้ปกครอง" ในหน่วยที่เราสอนกลุ่มดิฉันให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่อง  "ชนิดของไก่" แต่ต้องสอดคล้องกับวิชาคณิตศาสตร์ 
 โดยออกแบบตามความคิดของเราเอง

กลุ่มของดิฉันได้มีหัวข้อในแต่ละหน้าดังนี้
หน้า 1 เป็นหน้าปก ใช้หัวข้อว่า "กุ๊ก....ไก่ กลายชนิด"
หน้า 2 เป็นชนิดของไก่ในแต่ละชนิด
หน้า 3 เป็นสาระทางคณิตศาสตร์
หน้า 4 เป็นเกมคณิตศาสตร์
หน้า 5 เป็นเพลงไก่แจ้ประชันไก่ต็อก
หน้า 6 เป็นข้อเสนอแนะผู้ปกครอง,สมาชิกในกลุ่ม


ประเมินตนเอง
   พยายามเขียน Mind Map ในเรื่องการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยถึงแม้จะจำไม่ค่อยได้แต่ก็พยายามรวบรวมความรู้ให้ได้มากที่สุด และช่วยเพื่อนคิดรูปแบบและสาระที่จะเขียนในแผ่นพับที่ให้ความรู้กับผู้ปกครอง
ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆทุกคนมีสมาธิในการเขียน Mind Map และมีความคิดที่ดีในการทำแผ่นพับที่เราสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
ประเมินอาจารย์
  มีการสอนโดยให้สรุปเป็น Mind Map ของนักศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องและคำพูดของอาจารย์ก็เป็นคำพูดที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปปรับใช้ได้